วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

30 วิธีแสนง่ายเลี้ยงลูกให้ฉลาด


30 วิธีแสนง่ายเลี้ยงลูกให้ฉลาด


30วิธีง่ายๆต่อไปนี้อาจช่วยขยายไอเดียของคุณๆได้หากลูกคุณยังไม่ได้ดั่งใจแต่อย่างใดก็ตาม เด็กก็คือเด็ก เป็นผ้าขาวของสังคมเราต้องเข้าใจธรรมชาติของเขา ก่อนที่จะไปเปลี่ยนแปลงให้เขา เป็นในสิ่งที่เราอยากให้เป็นวิธีต่างๆเหล่านี้ผ่านการวิเคราะห์ทดสอบทดลองและสรุปผลมาแล้ว จากนักวิชาการว่าใช้ได้ผลดีมาแล้วทั􏰁วโลก
1.ตามองตา
เมื่อลูกลืมตาตื่นขึ้น ให้เรามองหน้าสบสายตาหนูน้อยสักครหู่ นูน้อยแรกเกิดจดจําใบหน้าของคนได้เป็นสิ่ง แรกเสมอ และใบหน้าของพ่อแม่คือใบหน้าแรกที่ลูกอยากจะจดจําซึ่งแต่ละครั่งที่หนูน้อยจอ้งมองใบหน้า ของเรา สมองก็จะบันทึกความทรงจําไว้เพิ่มขึ่นเรื่อย ๆ ด้วย
2.พูดต่อสิลูก
เวลาพูดกับลูก เว้นช่องว่างในช่วงคําง่าย ๆ ที่ลูกจะสามารถพูดต่อได้ เช่น พยางค์สุดท้ายของคํา หรือคํา สุดท้ายของประโยค ในช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะเงียบและทําหน้างง แต่ในที่สุดถ้าทําอย่างนี่บ่อย ๆ ในประโยค ซํ้า ๆ ลูกจะค่อย ๆ จับจังหวะ จับคําพูดบางคําไดแ้ ละเริ่มพูดต่อในช่วงว่างที่พ่อแม่หยุดไว้ให้
3.ฉลาดเพราะนมแม่
ให้นม แม่นานที่สุดเท่าที่จะทําได้ ผลการศึกษาในเด็กวัยเรียนพบว่าเด็กที่กินนมแม่ตอนที่เป็นทารกมักจะมี ไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแมน่ อกจากนี้การให้นมลูกยังเป็นช่วงเวลาสําคัญในการสร้างสายสัมพันธ์กับ ลูกน่้อย
4. ทําตลกใส่ลูก
แม้กระทั่งเด็กน้อยอายุเพียงแค่2 วันก็มีความสามารถเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าอย่างง่าย ๆ ของ พ่อแม่ได้ ไม่เชื่อลองแลบลิ้นหรือทําหน้าตาตลก ๆ ใส่ลูกคุณจะทําตามแน่ ๆ
5.กระจกเงาวิเศษ
ทารกน้อยเกือบทุกคนชอบส่องกระจก เขาจะสนุกที่ได้เห็นเงาของตัวเองในกระจกโบกมือหรือยิ้มแย้ม หัวเราะตอบออกมา ทุกครั้งห
6.จั๊กจี้จั๊กจี้
การหัวเราะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านอารมณ์ขันการเล่นปูไต่ทําให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการคาดเดา เหตุการณ์ด้วยว่าถ้าพ่อแม่เล่นอยา่งนี้แสดงว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปปูจะไต่จากไหนไปถึงไหนเป็นต้น
7.สองภาพที่แตกต่าง
ถือรูปภาพ 2 รูป ที่คล้ายกันให้ลูกมองโดยวางให้ห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เช่น ภาพรูป บ้านที่เหมือนกันทั้งสองรูปแต่อีกรูปหนึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ข้างบ้านแม้ยังเป็นเด็กทารกแต่เขาสามารถ สังเกตเห็นความแตกต่างนี้ได้เป็นการสร้างความจําที่จะเป็นพื้นฐานในการจดจําตัวอักษรและการอ่าน สําหรับลูก ต่อไป
8.ชมวิวด้วยกัน
พา ลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และบรรยายสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง เชโ่นอ้โหต้นไม้ต้นนี่มีนกเกาะอยู่เต็มเลย ดู สิลูกบนนัั้นมีนกด้วยการบรรยายสิ่งแวดล้อมให้ลูกฟังสร้างโอกาสการเรียนรู้คําศัพท์ให้กับลูก
9.เสียงประหลาด
ทําเสียงเป็นสัตว์ประหลาด คุ๊กคู ๆ หรือทําเสียงสูง ๆเลียนแบบเสยี งเวลาที่เด็ก ๆ พูดทารกน้อยจะ พยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงต่าง ๆ จากพ่อแม่
10.ร้องเพลงแสนหรรษา
สร้างเสียงและจังหวะส่วนตัวระหว่างเราและลูกน้อยขึ้นมา เช่นเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ก็ร้องเพลง เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกอาจจะเป็นกลอนสั้นๆแล้วใส่เสียงสูงตํ่าแบบการร้องเพลงเข้าไปหรืออีก ทางคือเปิดเพลงชนิดต่าง ๆ ให้ลูกฟังบ้าง เช่นบางวันอาจจะเป็นลูกทุ่ง บางวันเป็นเพลงบรรเลง หรือ เพลงป๊อปยอดฮิตทั่วไปมีนักวิจัยค้นพบว่าจังหวะดนตรีเกี่ยวพันกับการเรียนรู้คณิศาสตร์ของลูก
11.มีค่ามากกว่าแค่อาบน้ำ
เวลาในการอาบน้ำสอนให้ลูกรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำการบรรยายให้ ลูกฟังไปด้วยว่ากําลังทําอะไรและจะทําอะไรต่อไปเท่ากับเป็นการสอนคําศัพท์ และช่วยให้ลูกเรียนรู้ เกี่ยวกับกิจวัตรประจําวันไปในตัว
12.อุทิศตัวเป็นของเล่น
ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเล่นราคาแพงไว้ให้ลูกบริหารร่างกายเพียงแค่คุณพ่อหรือคุณแม่นอนราบลงไปบนพื้น และปล่อยให้หนูพยายามคลานข้ามตัวไปแค่นี้ร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ก็จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นที่ราคา ถูกที่สุดและสนุกที่สุดสําหรับหนูน้อยได้พัฒนากล้ามเนื้อให้ทํางานสัมพันธแ์ ละเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาไป พร้อมกัน
13.พาลูกไปช็อปปิ้ ง
นาน ๆ ครั้งพาลูกน้อยไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตด้วยก็ไม่เสียหายใบหน้าผู้คนอันหลากหลาย รวมถึงแสง สี เสียง ในห้างสรรพสินค้า คือสิ่งบันเทิงใจสําหรับหนูน้อยเชียวล่ะ
14.ให้ลูกมีส่วนร่วม
พยายามให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจวัตรต่าง ๆ เช่นถ้ากําลังจะปิดไฟก็อาจจะบอกลูกว่า แม่กําลังจะปิดแล้วนะ เสร็จแล้วจึงกดปิดสวิชต์ไฟนี้จะเป็นการสอนให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุและผลลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าเมื่อคุณแม่ กดสวิชต์ หลอดไฟจะปิดเป็นต้น
15.เสียงและสัมผัสจากลมหายใจ
ช่วยให้ลูกน้อยกระปรี่กระเปร่าขึ้นด้วยการเป่าลมเบา ๆ ไปตาม ใบหน้า มือแขน หรือท้องของลูก หา จังหวะในการเป่าของตัวเอง เช่น เป่าเร็ว ๆ สลับกับช้าบ้าง หรือเป่าแล้วตามด้วยเสียงต่าง ๆ ตามแต่ จินตนาการของคุณพ่อคุณแม่ แล้วรอดูปฏิกริยาตอบสนองจากลูก
16.ทิชชู่หรรษา
ถ้าลูกชอบดึงกระดาษทิชชู่ออกจากม้วน ปล่อยเขาค่ะ อย่าห้ามแต่อาจใช้กระดาษทิชชู่ม้วนที่เราใช้ไป พอสมควรแล้ว จนเหลือกระดาษอยู่เพียงเล็กน้อยเพราะการที่เด็กน้อยได้ขยําหรือขยี้กระดาษให้ยับย่น หรือพับให้เรียบนั้นเป็นการฝึกประสาทสัมผัสและการใช้มือของลูกเป็นอย่างดี
17.อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
การอ่านหนังสือช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องภาษาได้จริงๆมีผลการวิจัยออกมาวแ่าม้กระทั่งเด็กอาย8ุ เดือน สามารถเรียนรู้จดจําการเรียงลําดับคําในประโยคที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังซ้ำ 2-3 ครั้งได้ ดังนั้น ควรจัดเวาลในแต่ ละวันอ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจํา
18.เล่นซ่อนหาจ๊ะเอ๋
การเล่นจ๊ะเอ๋นี้นอกจากจะทําให้ลูกหัวเราะแล้วยังช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าเมื่อสิ่งของหายไปแล้วสามารถกลับคืนมาได้อีก
19.สัมผัสที่แตกต่าง
หาสิ่งของที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ไห หรือผ้ฝ้าย ค่อย ๆ นําพื้นผิวแต่ละอย่างไป สัมผัสแก้ม เท้า หรือท้องลูกเบา ๆระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็บรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่าความรู้สึกเมื่อถูก สัมผัสเป็นอย่างไรเช่น นี้จั๊กจี้นะลูกส่วนอันนี้นุ๊มนุ่มใช่ไหมเป็นต้น
20.ให้ลูกผ่อนคลายและอยู่กับตัวเองบ้าง
ให้ เวลาประมาณ 5-10 นาที ในแต่ละวัน นั่งเงียบ ๆ สบาย ๆ กับลูกน้อยบนพื้นบ้านไม่ต้องเปิดเพลง เปิด ไฟ หรือเล่นอะไรกัน ปล่อยให้ลูกได้สํารวจสิ่งต่าง ๆตามใจชอบ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องไปยุ่งกับลูกเลยและรอ ดูว่าใช้เวลาสักเท่าไรหนูน้อยจึงจะคลานมาขอเล่นกับคุณพ่อคุณแม่อีกครั้งนี้เป็นการฝึกความเป็นตัวของ ตัวเองให้ลูกขั้นแรก
21.ทําอัลบั้มรูปครอบครัว
นํารูป ภาพของญาติ ๆ มาใส่ไว้ในอัลบั้มเดียวกัน และนําออกมาให้ลูกดูบ่อย ๆเพื่อให้จดจําชื่อญาติแต่ละ คนแล้วเวลาที่คุณปู่ หรือคุณย่าโทรศัพท์มกา็นํารูปท่านออกมาให้ลูกดูพร้อมกับที่ให้ลูกฟังเสียงของท่าน จากโทรศัพท์ไป ด้วย
22.มือออาหารแสนสนุก
เมื่อถึงเวลาที่ลูกสามารถกินอาหารเสริมที้หลากหลายมากขึ้นได้แล้วอย่าลืมจัดอาหารของลูกให้มีชนิด ขนาดและพื้นผิวที่หลากหลาย เช่นมีทั้งผลไม้ชิ้นเล็กเส้นพาสต้า มักกะโรนี หรือซีเรียลปล่อยให้ลูกน้อยใช้ มือจับอาหารถ้าลูกอยากทํา เป็นการฝึกใช้นิ้วและฝึกใช้ประสาทสัมผัสเมื่อได้สัมผัสกับอาหารที่มีลักษณะ แตกต่างกัน
23.เด็กชอบทิ่งของ
บางครั้งดูเหมือนเด็กชอบทิ่งของลงพื้นซํ้ำแล้วซ้ำอีกและพฤติกรรมนี้เกิดจากเด็กทดสอบเรื่องแรงโน้มถ่วงว่าจะ ตกลงสู่พื้นทุกครั้งหรือไม่
24.กล่องมายากล
หากล่อง หรือตลับที่เหมือนกันมาสักสามอันแล้วซ่อนของเล่นชิเนโปรดของลูกไว้ในกล่องใบหนึ่ง สลับกล่อง จนลูกจําไม่ได้ แล้วให้ลูกค้นหาของเล่นชิ้นนั้นจนเจอ นี้เป็นเกมฝึกสมองอย่างง่ายสําหรับเด็ก
25.สร้างอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ
กระตุ้น ทักษะการทํางานของกล้ามเนื้อให้ลูก โดยนําเบาะ โซฟา หมอน กล่องหรือของเล่นวางขวางไว้บน พื้นแล้วพ่อแม่ก็แสดงวิธีคลานข้ามลอดหรือคลานรอบๆสิ่งกีดขวางเหลา่นี้ได้อย่างไร
26.เลียนแบบลูกบ้าง
เด็ก ชอบให้พ่อแม่ทําอะไรตามเขาในบางครั้ง เช่น เลียนแบบท่าหาวของลูกแกล้งดูดขวดนมของลูก ทํา เสียงเลียนแบบเวลาที่ลูกส่งเสียงอ้อแอห้ รือคลานในแบบที่ลูกคลาน การทําอย่างนี้กระตุ้นให้ลูกแสดงกิริยา ท่าทางต่าง ๆ ออกมา เพราะอยากเห็นปฏิกิริยาตอบสนองของพ่อแม่ นี้คือก้าวแรกของลูกสู่การมีความคิด สร้างสรรค์
27.จับใบหน้าที่แปลกไป
ลองทําหน้าตาแปลก ๆ เช่น ขมวดคิ้ว แยกเขี่ยว แลบลิ่นให้ลูกดเูวลาลูกเห็นพ่อแม่ทําหน้าตาตลก หนูน้อย จะอยากลองจับ ปล่อยให้ลูกได้ลองจับต้องใบหน้าของพ่อแม่ แล้วสร้างเงื่อนไขบางอย่างขึ้นมาเช่น ถ้าลูก จับจมูกจะทําเสียงแบบนี้ ถ้าจับแก้มจะทําเสียงอีกแบบหนึ่งทําแบบนี้ 3-4 รอบ แล้วจึงเปลี่ยนเงื่อนไขไป เรื่อย ๆ เพื่อให้ลูกแปลกใจ
28.วางแผนคลานตามกัน
ลองคลานเล่นไปกับลูกให้ทั่วบ้าน คลานช้าบ้างเร็วบ้างและหยุดหรือพ่อแม่อาจจะวางของเล่นที่น่าสนใจ หรือจัดบ้านในบางมุมให้แปลกไปก่อนที่จะมาคลานเล่นกับลูกเพื่อไปสํารวจตามจุดต่าง ๆ ที่จัดไว้ตามแผน
29.เส้นทางแห่งความรู้สึก
อุ้มลูกน้อยเดินไปทั่วบ้านในวันฝนตก จับมือลูกไปสัมผัสหน้าต่างที่เย็นชืนหนยดน้ำที่เกาะบนใบไม้ ต้นไม้ หรือสิ่งของอื่น ๆในบ้านที่จับต้องได้อย่างปลอดภัย เป็นการเปิดประสาทสัมผัสของลูกสู่ความรู้สึกต่าง ๆ เมื่อได้แตะต้องสิ่งของเย็น เปียก หรือความลื่น
30.เล่าเรื่องของลูก
เลือก นิทานเรื่องโปรดของลูก แต่แทนที่จะเล่าอย่างที่เคยเลา่ ลองใส่ชื่อของลูกลงไปแทนที่ชื่อตัวละครตัว สําคัญของเรื่องเพื่อให้หนูน้อยรู้สึกแปลกใจและสนุกสนานไปกับชื่อของตัวเองในนิทาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น