วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เหตุผลที่ผู้หญิงไม่ควร ดื่มเหล้า เบียร์ ยาดอง!




เหตุผลที่ผู้หญิงไม่ควร ดื่มเหล้า เบียร์ ยาดอง!

ผู้หญิงดื่มเหล้าทำให้ผิวเสีย มีริ้วรอยก่อนวัย เพราการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ปัสสาวะบ่อยจึงส่งผลให้ผิวแห้ง ร่างกายสูญเสียน้ำ ซึ่งทำให้ผิวมีริ้วรอย หน้าเหี่ยว แก่ไว นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี ซึ่งการขาดวิตามินบีจะทำให้ผิวหนังแห้งเหี่ยว เป็นสิว ผิวแห้งแตกลายอีกด้วย >> http://women.mthai.com/health/153831.html

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สโหลก ของ ปราชน์จีน




(love) ๑ "ซุนวู"
" ชมคนด้วยวาจา... มีค่ายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ
ทำร้ายคนด้วยวาจา... สาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ.."


(love) ๒ "ฮั่วหลัวเกิง"
" คนอื่นช่วยเรา... เราจะจำไว้ชั่วชีวิต
เราช่วยคนอื่น... จงอย่าจำใส่ใจ "

(love) ๓ "หวังติ้งเป่า"
" มีชีวิตอย่างไร้คุณธรรม... มิสู้ตายอย่างมีคุณธรรม
ได้มาด้วยความคดโกง... มิสู้ยอมเสียอย่างซื่อตรง..."

(love) ๔ "ปันกู้"
" น้ำใสสะอาดเกินไป... ย่อมไร้ซึ่งมัจฉา
คนที่เข้มงวดเกินไป... ย่อมไร้ซึ่งบริวาร "

(love) ๕ "หลี่ต้าเจา"
" ความไม่พอใจ... ความกลัดกลุ้มหงุดหงิด ควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราฮึดสู้มากยิ่งขึ้น ไม่ควรเป็นสิ่งที่ทำให้เราท้อแท้... ห่อเหี่ยวยอมจำนนต่ออุปสรรค์..."

(love) ๖ "ปาจิน"
" ในชีวิตของเรา... มิตรภาพเปรียบเสมือนโคมส่องสว่างดวงหนึ่ง... ซึ่งสาดส่องจิตวิญญาณของเราให้สว่างไสว ทำให้ชีวิตของเรามีแสงสีอันงดงาม.."

(love) ๗ "หยางว่านหลี่"
" ตัวสกปรกก็คิดจะอาบน้ำ เท้าสกปรกก็คิดจะล้างเท้า แต่ใจสกปรก กลับไม่คิดที่จะชำระใจ..."

(love) ๘ "หูหลินอี้"
" สุขสบายเกินไป... เส้นสายก็พลอยหย่อนยาน จิตใจก็พลอยขลาดกลัว"

(love) ๙  "ซุนซือเหมี่ยว"
" พูดน้อย กลุ้มน้อย ตัณหาน้อย นอนน้อย... ถ้าสี่อย่างนี้น้อย ก็ใกล้จะเป็นเซียนแล้ว"

(love) ๑๐ "ลู่ซู"
" คนที่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป... เป็นคนที่โดดเดี่ยวอ้างว้างที่สุด!"

(love) ๑๑  "ฟังเสี้ยวหยู"
" ไม่มีอะไรแย่เท่ากับความเย่อหยิ่งอวดดี... ผู้ที่คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ คือ คนที่ดีพอ... ผู้ที่คิดว่าตัวเองดีแล้ว คือ ผู้ที่ดีไม่พอ...!"

(love) ๑๒  "จางจื้อซิน"
" ต้องกล้าที่จะมองความจริง... แม้ว่าความจริงอาจจะทำให้เราเจ็บปวดมากๆ"

(love) ๑๓ "ซุนยาง"
" ความอิจฉา... เป็นอุปสรรคต่อมิตรภาพ ความระแวงสงสัย... เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของความรัก ความรัก... ถ้าปราศจากความซื่อสัตย์จริงใจต่อกันเสียแล้ว ก็ไม่อาจเชื่อถือซึ่งกันและกันได้"

(love) ๑๔ "เจิงก่วงเสียนเหวิน"
" ยามมีควรคิดถึงความจน... ยามจนไม่ควรคิดถึงยามมี..!"

(love) ๑๕ "เผยสงจือ"
" อย่าทำความชั่ว เพราะคิดว่าผิดนิดเดียว... อย่าละเว้นการทำความดี... เพราะคิดว่าได้บุญกุศลแค่นิดเดียว..."

(love) ๑๖  "ซูลิน"
" รู้เหตุผลไม่อับจน รู้กาละไม่ถูกด่า รู้ประหยัดไม่ขัดสน "

(love) ๑๗ "เจิงจิ้นเสียนเหวิน"
" ใช้จิตใจที่ชอบตำหนิผู้อื่น... มาตำหนิตัวเอง...
ใช้จิตใจที่ชอบให้อภัยตัวเอง...ให้อภัยผู้อื่น.."

(love) ๑๘ "ก่วนจ้ง"
" ขี้เกียจแล้วยังฟุ่มเฟือย... ย่อมยากจน
ขยันและประหยัด... ย่อมร่ำรวย.."

(love) ๑๙ "ขงเบ้ง"
"…สูงส่งแต่ไม่เย่อหยิ่ง ชนะแต่ไม่ลำพอง ปราดเปรื่องแต่รู้จักลงเวที เข้มแข็งแต่มีความอดกลั้น.."

(love) ๒๐ "หลี่ปุ๊เหว่ย"
"...ก่อนที่จะเอาชนะคนอื่น... จักต้องเอาชนะตัวเองให้ได้เสียก่อน 
ก่อนที่จะว่าคนอื่น... ควรพิจารณาดูตัวเองเสียก่อน
ก่อนหน้าที่จะรู้จักคนอื่น... ควรจะรู้จักตัวเองเสียก่อน.."

(love) ๒๑ "เล่าจื้อ"
" ผู้ที่รู้จักคนอื่นเป็นคนฉลาด... ผู้ที่รู้จักตัวเองเป็นคนมีสติ.."

(love) ๒๒ "เหลียงฉี่เชา"
" การตกระกำลำบากเป็นมหาวิทยาลัยชั้นสูงในการฝึกฝนยอดคน..!!"

(love) ๒๓ "ขงจื้อ"
" สิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ... จงอย่าทำกับคนอื่น.."

(love) ๒๔ "ซือหม่าเชียน"
" คนที่ทำได้อาจพูดไม่ได้... คนที่พูดได้อาจทำไม่ได้.!!"
          
(love) ๒๕ "ซือหม่าเชียน"
" คนเราหนีไม่พ้นความตาย... แต่ความหมายการตายนั้น ไม่เหมือนกัน... บ้างมีค่าหนักกว่าขุนเขา... บ้างไร้ค่าเบากว่าขนนก...!"

สว่างตา... ด้วยแสงไฟ
สว่างใจ... ด้วยแสงธรรม

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"กินเจ..กินเนื้อ เปรียบเหมือน กบ กับ คางคก"







"กินเจ..กินเนื้อ เปรียบเหมือน กบ กับ คางคก" 

         วันหนึ่งมีคนมาถามหลวงพ่อชา เกี่ยวกับเรื่องการกินเจ กับการกินอาหารเนื้ออาหารปลา ต่างกันอย่างไร อย่างไหนถูก อย่างไหนผิด ท่านตอบว่า "เหมือนกบกับคางคกนั่นแหละ โยมว่า กบ กับ คางคก อย่างไหนมันดีกว่ากันความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ฉันอะไร ไม่ได้เป็นอะไร ในจิตของท่านไม่มีอะไรเป็นอะไรอีกแล้ว การบริโภคอาหารเป็นสักแต่ว่า เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกายพอให้คงอยู่ได้ ท่านไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร ไม่ให้ติดอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง ให้รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ให้บริโภคด้วยตัณหา นี่เรียกว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ฉันอะไร ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไรแล้ว ถ้าคนกินเนื้อไปติดอยู่ในรสชาติของเนื้อ นั่นเป็นตัณหา ถ้าคนไม่กินเนื้อ พอเห็นคนอื่นกินเนื้อก็รังเกียจและโกรธเขา ไปด่าว่านินทาเขา เอาความชั่วของเขาไปไว้ในใจตัวเอง นั่นก็เป็นคนโง่กว่าเขา ทำไปตามอำนาจของตัณหา เหมือนกัน การที่เราไปโกรธเกลียดเขานั้น มันก็คือผีที่สิงอยู่ในใจเรา เขากินเนื้อเป็นบาปเราโกรธเขา เราก็เป็นผีเป็นบาปอีกเหมือนกัน มันยังเป็นสัตว์อยู่ทั้งสองฝ่ายยังไม่เป็นธรรมะ อาตมาจึงว่าเหมือนกบกับคางคก แต่ทางที่ถูกนั้น ใครจะกินอะไรก็กินไป แต่ให้มีธรรมะ คนกินเนื้อ ก็อย่าเห็นแก่ปากปากท้อง อย่าเห็นแก่ความเอร็ดอร่อยจนเกินไป อย่าถึงกับฆ่าเขากิน ส่วนคนกินเจก็ให้เชื่อมั่นในข้อวัตรของตัวเอง เห็นคนอื่นกินเนื้ออย่าไปโกรธเขา รักษาตัวเราไว้ อย่าให้คิดอยู่ในการกระทำภายนอกพระเณรในวัดนี้ของอาตมาก็เหมือนกัน องค์ไหนจะถือข้อวัตรฉันเจก็ถือไป องค์ไหนจะฉันธรรมดาตามมีตามได้ก็ถือไป แต่อย่าทะเลาะกัน อย่ามองกันในแง่ร้าย อาตมาสอนอย่างนี้ ท่านก็อยู่ไปด้วยกันได้ ไม่เห็นมีอะไร ให้เข้าใจว่า ธรรมะที่แท้นั้น เราจะเข้าถึงได้ด้วยปัญญา ทางปฏิบัติที่ถูกก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเราสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ดีแล้ว จิตก็จะสงบ และปัญญาความรู้เท่าทันสภาพของสังขารทั้งหลาย ก็จะเกิดขึ้น จิตใจก็เบื่อหน่ายจากสิ่งที่น่ารักน่าใคร่ทั้งหลาย วิมุตติก็เกิดขึ้นเท่านั้น" พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) จากหนังสือ "ใต้ร่มโพธิญาณ" — กับ Chaisa Mee

บทแผ่เมตตา บทอุทิศส่วนกุศล (แปล)






บทแผ่เมตตาให้ตัวเอง

     อะหัง สุขิโต โหมิ         ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

     นิททุกโข โหมิ            ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์

     อะเวโร โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร

     อัพยาปัชโฌ โหมิ         ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

     อะนีโฆ โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ

     สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ   ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ


บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

      สัพเพ สัตตา              สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
   
      อะเวรา โหนตุ             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย

      อัพยาปัชฌา โหนตุ        จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

      อะนีฆา โหนตุ             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย

      สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ   จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ



บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)

     อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
           
              ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

     อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
 
              ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

     อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
 
              ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

     อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
 
              ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

     อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
 
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

     อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
 
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

     อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
 
             ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

บทชัยปริตร ( แปล )





บทชัยปริตร ( มหากรุณิโก หรือ ที่เรียกย่อๆว่า มหากาฯ )


    มะหาการุณิโก นาโถ  หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง,

              พระพุทธเจ้าเป็นผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ทรงประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา บำเพ็ญบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
              เป็นผู้ถึงความตรัสรู้ชอบอันสูงสุด,

    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ  โหตุ เม* ชะยะมังคะลังฯ        

              ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านเถิด ฯ

    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ (ถ้าสวดให้คนอื่น เปลี่ยนเป็น ตะวัง วิชะโย โหหิ) ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ,            

              ขอท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนต้นโพธิ์ แล้วถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงบันเทิงพระทัยอยู่บนบัลลังก์ที่มารไม่อาจจะผจญได้
              เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความดี แก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้น เทอญ,

    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง,        

              เวลาที่บุคคลและสัตว์ประพฤติดีประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งแจ้งดี,

    สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ (อ่านว่า พรัมมะ) จาริสุ,        
         
              และขณะดี ครู่ยามดี ชื่อว่าบูชาดีแล้วในผู้ประพฤติอย่างประเสริฐทั้งหลาย,

    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง  วาจากัมมัง ปะทักขิณัง,        

              กายกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด วจีกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด, (๑)

    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา,        

              มโนกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด  ความปรารถนาอันตั้งไว้เพื่อสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุด,

    ปะทักขิณานิ กัตวานะ  ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ        

              บุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นมงคลสูงสุดแล ฯ

    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง  รักขันตุ สัพพะเทวะตา,          

              ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง  จงปกปักรักษาท่าน,

    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม*ฯ      

              ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีจงทีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ

    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,          

              ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงปกปักรักษาท่าน,

    สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม*ฯ      
             
              ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีจงทีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ

    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,          

              ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงปกปักรักษาท่าน,

    สัพพะสังฆานุภาเวนะ  สะทา โสตถี ภะวันตุ เม*ฯ      

              ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ตลอดกาล ทุกเมื่อเถิด ฯ



หมายเหตุ (๑)

          พวกพราหมณ์เขาถือว่า การประทักษิณคือการเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุลคลที่ตนเคารพนั้น เป็นการให้เกียรติและเป็นการเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด เพราะฉะนั้น บาลีที่แสดงไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนาและการที่กระทำกรรมทั้งหลาย เป็นประทักษิณอันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็นมงคล และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคลอันสูงสุดนั่นแล ฯ

บทพาหุงฯ (แปล)





บทพาหุงฯ


ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล


ตั้งนะโม ๓ จบ
  

    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง  ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท  ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิฯ

            พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,
            ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง  โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท  ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิฯ
         
            อนึ่งพระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง 
            ด้วยวิธีทรมานอันดี คือ ขันติ ความอดทน,ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท  ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิฯ

            พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ ความมีพระทัยเมตตา,
            ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

    อุกขิตตะขัคคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิฯ

             พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิมาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์,
             ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

    กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท  ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิฯ

             พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งตั้งครรภ์ เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม 
             คือ ความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท  ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิฯ

             พระจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ ปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมายในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง 
             และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง  ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธีนา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิฯ

             พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีบอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช 
             ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะ นั้น, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง (อ่านว่า พรัมมัง)  วิสุทธิชุติมิทะพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

             พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวผกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด 
             ด้วยวิธีวางยา คือ ทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ

             บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ 
             และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ


(ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต )



คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

บทที่ ๑   สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
บทที่ ๒   สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
บทที่ ๓   สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
บทที่ ๔   สำหรับเอาชนะโจร
บทที่ ๕   สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
บทที่ ๖   สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
บทที่ ๗   สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
บทที่ ๘   สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน 

http://www.84000.org/pray/puttakun.shtml

ถวายพรพระ (แปล)





ถวายพรพระ

     อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วัชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)

        เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
        เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
        เป็นผู้สามารถผฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
        เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้. (พุทธคุณ)


     สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู*** ติ (อ่านว่า วิญญู ฮีติ)  (กราบ)

        พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
        เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
        เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้  (ธรรมคุณ)

 
     สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
     ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ อาหุเนยโย,ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)

          พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
          พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
          พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
          พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
          ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
          ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
          เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (สังฆคุณ)  (กราบ)