วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นิทานที่ผมแต่งเอง เรื่อง แม่ลูกสาม

นิทานที่ผมแต่งเอง เรื่อง แม่ลูกสาม

คุณแม่คนหนึ่งมีลูกอยู่ 3 คน ลูกคนโต ขื่อ โมหะ ลูกคนรองชื่อ โลภะ ลูกคนสุดท้องชื่อ โทสะ

ลูกทั้ง 3 ของนาง จะมารบกวนนางเสมอ ในเวลาที่นางกำลังทำงานอยู่
โดยจะมาร้องงอแง ขอกินโน่น ขอไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ขอสตางค์เสมอ

คุณแม่คนนี้ มีทีเด็ดอย่างหนึ่ง ก็คือ นางมีสายตาที่มีเมตตา ทุกครั้งที่ลูกทั้งสามของนาง เห็นสายตาของแม่แล้ว ลูกทั้งสามจะเลิกงอแงท้นที และ จะหยุดงอแง กลับไปทำหน้าที่ของตัวต่อไป

ในบางครั้ง ตัวแม่ที่กำลังง่วนอยู่กับการทำงาน เมื่อลูกมางอแงอีก ถ้าคุณแม่เกิดอารมณ์เสียกับลูก ลูกก็จะงอแงต่อไปไม่ยอมหยุด

แต่ถ้าในบางครั้ง เมื่อลูกมางอแงด้วย คุณแม่ที่กำลังทำงาน ไม่อารมณ์เสีย แต่กลับมามองลูกที่มางอแงอยู่ข้าง ๆ ด้วยสายตาอันมีเมตตา ลูกจะหยุดงอแง แล้วกลับไปทำหน้าที่ของตนต่อไป

เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้ เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า คุณแม่ก็จับทางได้ ทุกครั้งที่ลูกมางอแง คุณแม่เพียงแค่มองลูกด้วยสายตาที่มีเมตตา เรื่องก็จบลงได้

*******************
ในความเป็นจริงแห่งการปฏิบัติธรรม
อาการทางจิตต่าง ๆ ก็เปรียบเหมือนลูกทั้งสามของคุณแม่
ที่จะเข้ามางอแงอยู่ร่ำไป นักปฏิบัติจึงต้องมีความเพียร ในการฝึกฝนสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เพื่อให้เห็นอาการทางจิตนั้น เมื่อเห็นอาการทางจิตนั้นแล้ว อาการทางจิตก็จะหายวับไปเองด้วยกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ

อย่าได้คาดหวังว่า การปฏิบัติธรรมนั้น จะทำให้อาการทางจิตมันหายไปได้อย่างเด็ดขาด เพราะนั้นคือธรรมชาติที่เกิดขึ้น และมันจะเป็นอย่างนั้นจนกว่า เราจะตายไปจากโลกนี้แล้ว

แต่นักปฏิบัติควรมีความเข้าใจว่า การปฏิบัติเพื่อให้เห็น ให้เข้าใจธรรมชาติของอาการทางจิต แล้ว การปล่อยวางจะเกิดขึ้นได้

อย่าได้คิดฆ่ากิเลส เพราะนั้นคือธรรมชาติ มันหาใช่กิเลสอะไรไม่ ถ้าเรารู้สึกตัว มีสติ สัมปชัญญะ มันทำอะไรเราไม่ได้เลย

แต่ถ้าเราขาดสติ สัมปชัญญะ เมื่อไร เจ้าธรรมชาติจะเข้าครอบงำจิตใจเราได้เมื่อไร นั่นแหละ คือ กิเลส

เห็นความแตกต่างกันไหมครับ กับคำว่า กิลส และ ธรรมชาติ

แม่ที่ดี เขาไม่ฆ่าลูกตนเองหรอกครับ เขาจะศึกษานิสัยและจะเข้ากับลูกได้ดี นักปฏิบัติก็เช่นกัน อย่าไปคิดฆ่ากิเลสเลย มันไม่มีทางสำเร็จ ศึกษามัน เข้าใจมัน แล้วจะอยู่กับมันได้อย่างไม่ทุกข์

************************

ข้อคิด ท้ายบทความ

ท่านลองดูบัตรประชาชนของท่านซิ ถ้าเป็นของแท้ รุปในบัตร กับตัวจริง จะต้องไม่เหมือนกัน ถ้าเหมือนกัน แสดงว่า นีคือบัตรปลอม

ตำราที่ดี อ่านแล้วต้องคลุมเคลือ ต้องไม่เข้าใจ และ สามารถตีความได้หลายอย่าง หลายทาง เช่น กฏหมายต่าง ๆ และ พระไตรปิฏก
ถ้าอ่านแล้วไม่คลุมเคลือ แต่กลับชัดเจน เข้าใจได้ทันที นี่คือ ตำราที่ปลอมมา

ในพระไตรปิฏก จะมีข้อความหนึ่งที่เขียนในทำนองที่ว่า การปฏิบัตินั้น ให้ปฏิบัติจน ...อันตัณหาและทิฐิอาศัยไม่ได้แล้ว... ท่านเข้าใจคำนี้ว่าอย่างไร ถ้าท่านเข้าใจถูก ท่านก็จะไม่ทุกข์กับการปฏิบัติธรรม ถ้าท่านเข้าใจคลาดเคลื่อน ท่านก็จะทุกข์กับการปฏิบัติธรรม นี่แหละครับ ตำราที่ดีของแท้ ต้องคลุมเคลือ








Create Date : 31 มีนาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:11:29 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น