วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ก่อนวิวาห์ หนึ่งเรื่องสำคัญที่คู่รักไม่ควรละเลย คือ การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งจัดโปรแกรมการตรวจไว้เฉพาะ เพื่อให้ว่าที่สามี-ภรรยา ได้ตรวจให้รู้ปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันการติดโรค หรือความปลอดภัยในการมีทายาทในอนาคต ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว คู่รักจะได้รับการตรวจค้นหาความผิดปกติ 10 ประการ
1. เริ่มจากตรวจร่างกายทั่วไปอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น น้ำหนัก ชีพจร ความดันโลหิต คล้ายๆ กับการตรวจสุขภาพประจำปี
2. ตามด้วยการตรวจหากรุ๊ปเลือด โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยตรวจ การตรวจในข้อนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
3. เรื่องของเลือดยังต้องตรวจหาความผิดปกติของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ให้รู้ว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ เนื่องจากโรคดังกล่าวถือเป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เม็ดเลือดแดงผิดปกติ จะส่งผลให้ลูกมีการเจริญเติบโตไม่สมวัย ตับม้ามโต ตัวซีด หรือเด็กอาจเสียชีวิตได้
4. การตรวจหาโรคฮีโมฟีเลีย เพื่อค้นหาความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุให้เลือดออกง่าย แต่หยุดยาก
5. ยังมีการตรวจหาโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD โรคที่ติดตัวตลอดชีวิต ถ้าเม็ดเลือดแดงเอนไซม์แตก ก็จะเป็นปัญหากับลูกที่เกิดภาวะซีดเหลือง คล้ายดีซ่าน ทว่าเม็ดเลือดแดงแตกมากก็ทำให้ช็อกได้
6. และที่ได้ยินกันบ่อยๆ คือ ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด ซึ่งสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ เป็นโรคที่ยังไม่อาจรักษาได้ด้วย
7. นอกจากนี้คู่รักยังต้องตรวจหาเชื้อและหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี โรคสำคัญที่สามารถติดต่อไปยังคู่สมรส รวมทั้งลูกได้ แถมยังอาจพัฒนาไปเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง มะเร็งตับ ตับแข็ง แต่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยการรับวัคซีน ต้องตรวจก่อนว่ามีภูมิคุ้มกันหรือยัง
8. การตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมัน เกิดจากไวรัส ติดต่อไปยังคู่สมรสและลูกได้ ทั้งนี้หากไม่มีภูมิคุ้มกัน แพทย์จะให้ฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดอย่างน้อย 3 เดือน ป้องกันติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ อันเป็นเหตุให้แท้งลูกหรือทารกพิการ

9. ที่ขาดไม่ได้ คือ การตรวจหาวัณโรค
 ที่ติดต่อได้ง่ายจากระบบทางเดินหายใจ หายได้ถ้ารักษาอย่างต่อเนื่อง
10. สุดท้ายสำคัญไม่แพ้ข้อไหนๆ คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งถ้าพบเชื้อก็จะได้วางแผนป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยและคุมกำเนิดไม่ ให้ติดต่อไปยังลูก
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน หากละเลยไป ระวังจะทุกข์ใจเพราะติดโรคร้าย แถมลูกก็อาจลำบากต้องรับปัญหาสุขภาพจากพ่อและแม่ไปด้วย
Keep unreadSend to
Share on Google+

8 วิธีคุมอย่างไร ไม่ให้ท้อง


การวางแผนครอบครัว เรื่องใหญ่ที่ต้องนึกถึงคือ การวางแผนมีลูก บางท่านเรื่องเงินไม่มีปัญหา แต่หาคนเลี้ยงที่ไว้ใจไม่ได้ หรือบางคน พร้อมจะเลี้ยงแต่ติดเรื่องค่าใช้จ่าย หรือมีลูกคนแรกแล้ว แต่พักท้อง สัก 2 ปี เลี้ยงลูกคนโตให้เต็มที่ แต่ละท่านก็ต่างเหตุผลกันไป ฉะนั้น การคุมกำเนิดจึงต้องเข้ามาอยู่ในแผนของชีวิตคู่ มาดูกันสิว่า การคุมกำเนิดมีไหนบ้าง
1. คุมกำเนิดแบบถาวร ก็คือ การทำหมัน วิธีนี้คุณต้องแน่ใจแล้วว่าไม่ต้องการมีลูกอีก สามารถทำได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
2. ถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดหาซื้อได้ง่าย ใช้ง่าย ราคาไม่แพง สามารถป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย ปัจจุบันมีออกมาจำหน่ายมากมายตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นผิว กลิ่น หรือบางชนิดก็มีการเคลือบสารเคมีฆ่าเชื้ออสุจิ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความพอใจ แต่มีข้อควรระวังคือ “ผู้หญิงบางคนอาจจะแพ้วัสดุที่ผลิตถุงยางได้” ดังนั้น ควรเลือกถุงยางที่ผลิตจากยางธรรมชาติ จะดีที่สุด

“ทำหมันชาย”
 คือ การเจาะรูเล็กๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร เข้าไปผูกท่อนำตัวอสุจิ ใช้เวลาน้อยกว่าการทำหมันหญิงมาก มีแผลเพียงเล็กน้อย และไม่ต้องนอนค้างโรงพยาบาลแต่อย่างใด และไม่มีผลใดๆ ต่อสมรรถภาพทางเพศ


“ทำหมันหญิง”
 จะคล้ายผู้ชาย คือ การผ่าตัดผูกท่อนำไข่ เป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ที่ปีกมดลูก คุณแม่ท่านใดที่ตัดสินใจทำหมันหลังจากคลอดลูกภายใน 24 ชั่วโมง จะเรียกว่าทำหมันเปียก แต่ถ้ามาทำภายหลัง เรียกว่า ทำหมันแห้ง


3. ยาคุมกำเนิด
 เป็น วิธีการคุมกำเนิดที่นิยมกันมากที่สุด และให้ผลดี ซึ่งผลของยาคือ ทำให้ไข่ไม่ตก แต่ก็เป็นหน้าที่ของคุณผู้หญิงที่ต้องไม่ลืมรับประทานยา เพราะถ้าลืมบ่อยๆ ก็อาจจะผิดพลาดเกิดการตกไข่ขึ้นมาได้ และการรับประทานยาคุมกำเนิดนี้ บางคนอาจจะมีอาการแพ้ หรือมีประจำเดือนผิดปกติ จึงต้องสังเกตตัวเองให้ดี
“สำหรับคุณแม่ที่ยังอยู่ในช่วงให้นมลูก”  ก็ไม่แนะนำให้รับประทานค่ะ ควรใช้วิธีใช้ถุงยางอนามัยไปก่อน และทางที่ดีที่สุดคือ ก่อนเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิด อาจจะให้คุณหมอตรวจสุขภาพเสียก่อนว่าควรรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดใด หรือใช้ยาคุมได้หรือไม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

4. ยาฝังคุมกำเนิด
 เป็นการนำฮอร์โมนมาฝังไว้ใต้ผิวหนังช่วงแขนด้านใน ซึ่งเมื่อฝังยานี้เข้าไปแล้วจะคุมกำเนิดได้ถึง 3-5 ปี ถ้าคู่ไหนคิดว่าอยากมีลูกห่างกันขนาดนี้ วิธีนี้ก็สะดวกดีค่ะ

5. ยาฉีดคุมกำเนิด
 แบบนี้เหมาะกับคุณผู้หญิงที่ชอบลืมกินยา ใช้วิธีฉีดยาคุม ส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์คุมกำเนิดได้ 3 เดือน ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นเดียวกับชนิดยากิน แต่มีข้อเสียคือ บางคนอาจจะรอบเดือนไม่มา หรือมากะปริบกะปรอย ซึ่งอาจจะสร้างความอึดอัด หรือรำคาญให้กับคุณได้ และบางคนอาจจะมีอาการแพ้ยาฉีดก็เป็นได้


6. ใส่ห่วงอนามัย
 เป็นการใส่เครื่องมือในโพรงมดลูก เหมาะกับผู้หญิงที่เคยมีลูกแล้ว และมีอาการแพ้ยาคุมชนิดรับประทานหรือฉีด ห่วงอนามัยจะมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่มีตัวยา และไม่มีตัวยาใดๆ การใส่ห่วงต้องให้คุณหมอเป็นผู้ใส่ให้ อยากมีลูกตอนไหน ก็ให้คุณหมอถอดออกให้ และโดยปกติจะใส่ครั้งละ 3 ปี

7. การนับวัน
 ที่เรามักได้ยินกันว่า ระยะปลอดภัยจากการตั้งครรภ์คือ หน้า 7 หลัง 7 จากวันที่มีประจำเดือน ซึ่งหมายถึง การกะระยะเวลาที่ไข่ไม่ตก การคุมกำเนิดวิธีนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีประจำเดือนคลาดเคลื่อน ฉะนั้นถ้าไม่แน่ใจ และไม่อยากพลาด ไม่ควรใช้วิธีนี้

8.หลั่งข้างนอก
 ต้องอาศัยวิทยายุทธ์ของฝ่ายชาย ว่าสามารถหลั่งข้างนอกโพรงมดลูกได้ทันหรือไม่ ถ้าแน่ใจก็อาจจะได้ผลคุมกำเนิดเพียง 80% เท่านั้น เพราะโดยปกติ ก่อนที่จะถึงจุดสุดยอดโดยมีน้ำอสุจิหลั่งออกมา ก็อาจจะมีน้ำเชื้อที่ซึมๆ ออกมาก่อนหน้าก็เป็นได้ จึงเป็นอีกวิธีที่ไม่อยากแนะนำ ถ้ายังไม่พร้อมมีบุตรค่ะ


ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบใด ก็ต้องดูที่สุขภาพ ความเหมาะสม และความพอใจของคู่คุณเป็นหลัก และถ้าตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่า ไม่ขอมีลูกอีกแล้ว ก็แนะนำให้ทำหมันแบบถาวรเพื่อความสบายใจ สบายตัว แต่จะเป็นฝ่ายไหนที่ไปทำ ก็ต้องแล้วแต่ตกลงกันล่ะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น