วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคน้ำกัดเท้ามาเยือน ทำไงดีนะ!?

โรคน้ำกัดเท้ามาเยือน ทำไงดีนะ!?:
Question: ลุยน้ำท่วมจนเป็นโรคน้ำกัดเท้าทำไงดี!?



Answer:
โดย พญ.ทวีรัตนา บุตรสุนทร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ




















“โรคน้ำกัดเท้าคือ โรคเชื้อรา เป็นเชื้อราที่เกิดที่เท้า สาเหตุคือความอับชื้น หรือการแช่น้ำนานๆ แล้วทำให้หนังเท้าเปื่อย จึงเป็นทางเข้าของเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังขึ้นมา

อาการคือ จะคันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุยๆ เป็นผื่นที่เท้า ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตกที่เป็นมากและพบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถเกิดที่ส้นเท้าและอาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บได้

ก่อนอื่นเราต้องป้องกัน หากเราจำเป็นต้องแช่น้ำก็แช่ไป แต่พอขึ้นมาเสร็จปุ้บเราต้องล้างน้ำแล้วซับแห้ง ถ้าทำได้ โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้าทั้งหมด จากนั้นอาจจะต้องซื้อยาที่ฆ่าเชื้อราที่ขา และเท้า

การรักษาในระยะนี้ควรใช้ยาทาสเตียรอยด์ (Steroid) อ่อนๆ อันนี้คือเป็นการป้องกันเอาไว้ หรือแค่ซับให้แห้ง แล้วรอดูอาการ ถ้ามีอาการค่อยซื้อยาทาก็ได้

อาการเริ่มต้นส่วนใหญ่จะเริ่ม จากบวมแดงรอบๆ ถ้าเป็นมากๆ ก็จะเริ่มเปื่อยๆ ขึ้นมา แล้วก็มีอาการคัน แต่บางคนก็ไม่คัน เพราะความจริงผื่นที่เท้าอาจจะไม่ใช่เชื้อราอย่างเดียว อาจจะเป็นเรื่องของการอักเสบ แพ้สารอะไรบางอย่างที่อยู่ในน้ำก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อราทั้งหมด

ถ้าเป็นผื่นเชื้อราส่วนใหญ่จะ เริ่มจากซอกนิ้ว แต่ถ้าผื่นที่ไม่ใช่เชื้อรา แพ้จากสารแคมี บางทีอาจจะเกิดตรงไหนก็ได้ของเท้า อาจจะเป็นหลังเท้า หรือตรงไหนก็ได้ทั้งหมดเลย แบบนั้นอาจจะต้องใช้ยาคนละอย่างกัน

โรคน้ำกัดเท้าแบบยังไม่มี เชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้น และสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คัน และแสบ โดยเฉพาะตามง่ามนิ้วเท้า และขอบเล็บ ซึ่งผิวหนังอักเสบในระดับนี้ยังไม่มีเชื้อโรคใดๆ เข้าไปในบาดแผลได้

การรักษาระดับนี้ ควรใช้ยาทาที่ผสมสเตียรอยด์ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา เพราะยาบางชนิดจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบผิวหนังมากขึ้น และเมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

ส่วนระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีแผลเล็กๆ ที่เกิดจากผิวหนังอักเสบและมีเชื้อโรคเข้าไปทางบาดแผล โดยมีอาการบวมแดง เป็นหนองและปวด ควรให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาตามอาการของผู้ป่วย อนึ่งหากปล่อยให้มีอาการโรคน้ำกัดเท้าอยู่นาน ผิวที่ลอกเปื่อยและชื้น จะติดเชื้อราทำให้เป็นโรคเชื้อราที่ซอกเท้ามีอาการบวมแดง มีขุยขาวเปียก มีกลิ่นเหม็น และถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง เชื้อราจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผิวหนังรักษาหายยาก ถึงแม้จะใช้ยาทาจนอาการดีขึ้นดูเหมือนหายดีแล้ว แต่มักจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่เมื่อเท้าอับชื้น ก็จะเกิดเชื้อราลุกลาม ขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดอาการเป็นๆ หายๆ เป็นประจำ ไม่หายขาด

โดยทั่วไปจะคิดว่าโรคน้ำกัด เท้ากับฮ่องกงฟุตคล้ายกัน เขาจะถือว่าเป็นโรคเดียวกัน โรคของการติดเชื้อราที่เท้าเหมือนกัน เช่น พวกนักกีฬา เป็นต้น

โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษที่ บริเวณซอกนิ้วเท้า เล็บอาจจะไม่ได้เป็นตัวที่ทำให้เกิดเชื้อรา เพียงแต่ถ้าเราเล็บยาวในช่วงภาวะน้ำท่วมเรา จะเป็นที่สะสมของเชื้อโรค ดังนั้นเราควรจะตัดเล็บเท้าให้สั้น

หลังลุยน้ำท่วม ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้นใช้ครีมกันเชื้อราหรือโรยแป้งฝุ่นที่เท้า ต้องลุยน้ำท่วมจึงอาจเป็นที่ก่อเชื้อโรคได้ หากใส่รองเท้าบูทจะยิ่งดีมาก เป็นวิธีที่ป้องกันให้เท้าสัมผัสน้ำโดยตรง เป็นวิธีที่ป้องกันที่ดีที่สุด”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น