วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาเกี่ยวกับสายตา - มุมมือใหม่


ปัญหาเกี่ยวกับสายตา - มุมมือใหม่

ผมจำไม่ได้ว่า ได้เขียนเรื่องเกียวกับสายตาไว้่ใน blog ในหัวข้อใด
เอาเป็นว่า ผมเขียนใหม่ก็แล้วกันในตอนนี้
ปัญหาของมือใหม่ก็คือ จะวางสายตาอย่างไร ในขณะฝึกปฏิบัติ
มาอ่านความเห็นของผมดังนี้

*********************************
ถ้าท่านศึกษาในแวดวงกรรมฐานของไทย จะมีเพียงกล่าวไว้ 2 แบบเกี่ยวกับการวางสายตา
นั้นคือ
++แบบที่ 1..ที่นิยมสอนกันมากที่สุด คือ ให้หลับตา
++แบบที่ 2..มีสอนกับบ้าง แต่ไม่มากเหมือนแบบ 1 คือ ให้ลืมตา อย่าหลับตา

ผมเข้าใจดีครับว่า ถ้าเป็นมือใหม่ มักจะลังเลว่า แบบใดดีกว่า เพราะอะไรจึงดีกว่า

ผมจะไม่ตอบในข้อสงสัยของท่านว่า แบบ 1 หรือ แบบ 2 ดีกว่า
แต่ผมจะบอกว่า ทั้ง 2 แบบ ผมลองมาแล้ว แต่ในที่สุด ผมก็เลือกแบบที่ 2
แต่ไม่ใช่ว่าแบบที 2 จะดีกว่าแบบที่ 1 แต่ที่ผมเลือกแบบที่ 2 เพราะผมเห็นว่า
มันเป็นสิ่งทีเหมือนธรรมชาติในชีิวิตจริง

สำหรับแบบหลับตาแบบที่ 1 ผมคงไม่กล่าวถึง เพราะผมไม่มีประสบการณ์ครับ

สำหรับแบบที่ 2 ที่ให้ลืมตานั้น ก็ไม่มีการกล่าวถึงกันอีกว่า ให้ลืมตาอย่างไรในขณะฝึกฝน
ซึ่งการลืมตานั้น ที่ผมสังเกตได้ ก็มี 3 แบบครับ

++แบบที่ 1 ลืมตาแล้วเห็นภาพชัดเจนดี แบบนี้คนปรกติทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นแบบนี้กันทุกคน เช่นเวลาเราอ่านหนังสือ เราต้องลืมตาและเห็นตัวหนังสือที่ชัดเจน
เมื่อผมฝึกมาจนเห็นการทำงานของจิตได้่ ผมเห็นว่า ถ้าลืมตาแบบนี้ จะมีพลังงานจากสายตาพุ่งออกไปสู่สิ่งทีต้องการจะมองดู สำหรับคนที่ไม่ได้ฝึกฝน จะมองไม่เห็นและไม่เข้าใจในเรื่องพลังงานนี้ เมื่อพลังงานพุ่งออกไปทางสายตาแล้ว คนก็จะกลายเป็นคนที่หลงลืมตัวไปทันที แต่ถ้าคนที่ฝึกมาพอสมควร ถึงแม้มีพลังงานพุ่งออกไปทางสายตา เขาก็จะไม่เห็นพลังงานนี้เช่นกัน แต่เขาอาจจะไม่หลงลืมตัวไปเหมือนคนที่ไม่ได้ฝึก แต่ก็เป็นพลังงานไหลออกไป

++แบบที่ 2 ลืมตาแล้วเห็นภาพมัว ไม่ชัดเจน แบบนี้จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะกล่าวคือ
>>>> ตอนที่กำลังจะหลงลืมตัวจนกำลังจะขาดความรู้สึกตัวอยู่แล้ว ตอนนี้จะเกิดตอนที่กำลังเปลี่ยนแปลงอิริยาบทเป็นส่วนมาก เช่น ขณะเดินจงกรม แล้วกำลังหมุนตัวกลับ จังหวะหมุนตัวนั้นแหละ ถ้าท่านสังเกตดู จะเห็นว่า ภาพที่ตาจะมัวไม่ชัดเจน

>>>> ตอนที่กำลังมีการเพ่งภายในกายอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นการเพ่งที่ไม่รุนแรงมากจนเป็นการขาดความรู้สึกตัว ผมเขียนอย่างนี้ท่านจะไม่เข้าใจ ขอให้ท่านลองดูก็ได้ เช่นตอนที่ท่านแปรงฟัน
ท่านกำลังสนใจการแปรงฟันอยู่ กำลังบังคับมือให้เคลื่อนไปตามฟันขณะแปรง ท่านต้องส่งความรู้สึกไปที่ฟันขณะแปรง เมื่อท่านแปรงแบบนี้ ท่านสังเกตสายตาของท่านดู ท่านจะเห็นเองว่า ภาพที่ตาเห็นได้จะมัว ๆ ไม่ชัดเจน

++แบบที่ 3 ลืมตา ภาพไม่มัว แต่ก็ไม่ชัดมาก อาการนี้ จะเกิดเมื่อเพียงลืมตาขึ้นมาเฉย ๆ
แต่ไม่ต้องการจะมองอะไรเป็นพิเศษ ตาจะเห็นภาพเป็นมุมกว้่าง ภาพไม่มัวแต่ก็ไม่ชัดมาก

++++++
จากที่ผมได้ฝึกฝนจนเห็นการทำงานของจิต ผมสังเกตเห็นสภาวะของสายตาในชีิวิตประจำวัน ผมพบว่า
แบบที่ 3 จะเกิดมากที่สุด เกิดบ่อยที่สุด แต่ถ้าท่านไม่สังเกตมัน ท่านจะมองไม่เป็นและไม่รู้จักมัน
แบบที่ 1 จะเกิดเมื่อต้องการเพ่งมองอะไรอย่างตั้งใจ เช่นการอ่านหนังสือ
แบบที่ 2 แบบที่ 2 จะเกิดเมื่อกำลังทำกิจกรรมประจำวันวันต่าง ๆ เช่นอาบน้ำ ซักผ้า แปรงฟัน

*****
เมื่อท่านอ่านถึงตอนนี้...... ท่านคงเห็นว่า ผมไม่ฟันธงในคำตอบให้ท่านเลย
ผมอยากจะแนะำนำท่านว่า ขอท่านอย่าได้กังวลมากเกินไปในเรื่องนี้ เพียงท่านฝึกฝน
ด้วยการมี .ความรู้สึกตัวที่สบาย ๆ . ไม่เพ่งจ้องสภาวะ เพียงรู้สึกถึงสภาวะที่สัมผัสได้
ส่วนสายตาจะเป็นอบ่างไรใน 3 แบบที่ผมเขียนข้างต้น ก็ขอให้ปล่อยให้มันเป็นไปเองครับ

************
บทความท้ายบท

เพื่อนที่ทำงานกลับจากการพักเที่ยง และบอกแก่ท่านว่า เขาเห็นเสือตัวหนึ่ง กำลังวิ่งไล่กัดคนที่ตลาดสด เมื่อท่านฟังแล้ว ท่านจะไม่เชื่อในคำพูดนี้

เวลาผ่านไปอีกครึ่งชั่วโมง เพื่อนอีกคนหนึ่ง ก็กลับมาจากพักเที่ยง และพูดเหมือนกับเพื่อนคนแรก
เช่นกัน เมื่อท่านฟังแล้ว ท่านก็ยังไม่เชื่อ แต่จะเริ่มลังเล

เวลาผ่านไปอีกครึ่งชั่วโมง เพื่อนอีกคนหนึ่ง กลับมาจากพักเที่ยง และก็พูดเหมือนกับเพื่อนคนแรกอีกเช่นกัน เมื่อท่านฟังแล้ว ท่านจะเชื่อทันทีอย่างสนิทใจ ว่านี่คือเรื่องจริง

นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ ที่พร้อมจะเชื่อเมื่อได้ยินได้ฟังแบบเดียวกันซ้ำ ๆ การหลอกลวงต้มตุ้นจะเกิดได้ง่ายมาก ๆ ด้วยวิธีนี้

>>>
ในเวปบอร์ดตอบปัญหาปฏิบัติธรรม
คนที่ 1 ถึง คนที่ 10 ตอบว่า ให้ปฏิบัติให้จิตนิ่งซิ เมื่อจิตนิ่งแล้วสังเกตได้คือตัวจะนิ่งแข็งเป็นหิน นี่คือการได้สมาธิ
คนที่ 11 ตอบว่า อย่าไปนั่งให้จิตนิ่ง ตัวแข็งเป็นก้อนหิน มันไม่ใช่สมาธิแบบพุทธ

ท่านว่า คนที่ไม่รู้เรื่องการฝึกสมาธิ จะเชื่อ คนที่ 1 ถึง 10 หรือ เชื่อคนที่ 11 กัน





Create Date : 15 เมษายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:10:47 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น